วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Learning Log 11

                                          Learning Log 11
                             
  💢ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ 💢
           บทบาทครูปฐมวั คือ การกระทำ หรือพฤติกรรมการแสดงออกของคนตามสิทธิและหน้าที่ ภายใต้สถานการณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ครูเป็นบุคคลที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเด็ก ดังนั้น ครูจึงควรมีบทบาท ดังต่อไปนี้ เบญจา แสงมะลิ (อ้างใน เยี่ยมลักษณ์ อุดาการณ์, 2542) ได้กล่าวถึงบทบาทของครูผู้ดูแลเด็กไว้ว่าครูจะต้องมีบทบาทเป็น 9 นัก คือ


                    1. นักรัก ครูผู้ดูแลเด็กจะต้องเป็นคนที่รักเด็กและทำตัวให้เด็กรัก
                    2. นักเล่น ครูผู้ดูแลเด็กจะต้องเป็นคนที่สามารถเล่นกับเด็กได้
                    3. นักร้อง ครูผู้ดูแลเด็กจะต้องเป็นคนที่สามารถร้องเพลงเด็กได้ และสามารถเลือก เพลงที่เหมาะสมกับเด็ก
                    4. นักรำ ครูผู้ดูแลเด็กต้องมีความสามารถในการเคลื่อนไหวและการทำท่าทาง ประกอบจังหวะต่างๆ
                    5. นักเล่า ครูผู้ดูแลเด็กต้องเป็นนักเล่านิทาน หรือเรื่องราวต่างๆ
                    6. นักคิด ครูผู้ดูแลเด็กต้องเป็นคนที่คิดเก่ง ในเรื่องของการคิดกิจกรรม คิดประดิษฐ์ สื่อของเล่น คิดหาทางส่งเสริม กระตุ้นพัฒนาการเด็ก เป็นต้น
                    7. นักทำ ครูที่ดีต้องเป็นผู้ที่ขยันในการทำงาน ทำสื่ออุปกรณ์ต่างๆ
                    8. นักฝัน เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ช่างเพ้อฝันจินตนาการ ดังนั้นครูจะต้องเป็นคนที่ช่าง ฝันจินตนาการร่วมกับเด็กด้วย

                    9. นักแต่ง ครูปฐมวัยจะต้องเป็นผู้ที่สามารถแต่งนิทาน เรื่องราวต่างๆที่เหมาะสมกับ เด็ก ตกแต่งห้องเรียนสถานที่ แต่งเพลง และการรู้จักแต่งตัว


บทบาทของครูปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 

😛การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน การจัดสภาพแวดล้อมๆในสถานศึกษาปฐมวัยทั้งภายในห้องเรียน ภายนอกห้องเรียน เพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้รับประสบการณ์จากการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ทำกิจกรมร่วมกันอย่างมีความสุข สนุก สบาย สะดวก ปลอดภัย ตลอดจนส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

😍การจัดกิจกรรมหรือการจัดประสบการณ์ การจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในห้องเรียนให้กับเด็กปฐมวัย  โดยให้ได้รับประสบการณ์ตรงจากการเล่น การลงมือปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

😘การวัดประเมินผล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและความสามารถของเด็กในด้านต่าง ๆ ทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง แล้วนำมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับเด็ก หรือการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก

😜การให้ความสนใจเด็ก  ไม่เน้นเพียงเรื่องความรู้หรือเนื้อหาวิชา แต่เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ได้แก่พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์สังคม และสติปัญญา

💟การจัดเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ สื่อวัสดุอุปกรณ์   มีความสำคัญและจำเป็นไม่ใช่มีอะไรก็ให้เด็กใช้ได้ทั้งหมด เราซึ่งเป็นผู้ใหญ่ต้องเข้าใจและต้องเตรียม คัดเลือกสื่อ วัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมในแต่ละครั้งที่จัดประสบการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยมีอย่างหลากหลาย สื่อวัสดุมีทั้งวัสดุท้องถิ่น วัสดุเหลือใช้ วัสดุที่ทำขึ้นเอง สำหรับครูปฐมวัยจำเป็นต้องนำสื่อวัสดุมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด






การประเมินตนเอง👇
        ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และคอยจดบันทึกเพื่อนำกลับไปทบทวน เข้าเรียนตรงต่อเวลา
 การประเมินเพื่อน👇
      เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนทุกคน มีความพร้อมในการเรียน

 การประเมินอาจารย์
      อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นกันเองกับนักศึกษา


                        💚💛💙💚💛💙💚💛💙💚💛💙💚💛💙💚💛💙💚💛💙

Learning Log10

                                             Learning Log 10
                                            Friday 24 April 2020

          ✌ ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

  👄พัฒนาการด้านโครงสร้างและการทำงานของสมอง



  • สมองส่วนใหญ่ของเด็กวัยนี้จะอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา
  • สมองส่วนรับความรู้สึกมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในระยะนี้
  • ประสาทสัมผัสและการรับรู้ต่างๆ พัฒนาชัดเจนขึ้น
  • การกระตุ้นโดยสัมผัสจะช่วยกระตุ้นการทำงานประสานกันของส่วนรับสัมผัสของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
  • เมื่อสถานีรับข้อมูลจากภายนอกพัฒนาได้เร็ว ก็จะส่งผ่านข้อมูลไปกระตุ้นการทำงานของระบบอื่นๆ ในสมอง เช่น ส่วนความทรงจำ ส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว ส่วนที่ทำงานด้านอารมณ์
  • สมองมีตำแหน่งรับรู้ต่างๆ มากมายเมื่อสมองส่วนหนึ่งทำงาน ก็มีผลต่อการทำงานของสมองอีกส่วนหนึ่งด้วย การพัฒนาเด็กด้านการรับสัมผัส และการเคลื่อนไหวจึงนับเป็นการพัฒนาสมองส่วนต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน และเสริมซึ่งกันและกัน
  • การส่งผ่านข้อมูลภายในสมองได้รับการพัฒนาให้รวดเร็วขึ้นโดยกระบวนการ myelination ทำให้ระบบรับความรู้สึก (sensory) กับระบบควบคุมการเคลื่อนไหว (motor) ทำงานประสานกันดีขึ้น ทำให้สมองพร้อมรับการสำรวจทำความรู้จักโลก
  • Myelination ช่วยให้การพัฒนาความสามารถของเด็กมีความพร้อม เช่น myelination ในบริเวณของสมองที่มีหน้าที่จัดความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ตากับการใช้มือของเด็ก จะพร้อมก็ต่อเมื่อเด็กอายุประมาณ 4 ปี พัฒนาการของสมองที่เชื่อมโยงกับโลกกว้าง นำไปสู่การเรียนรู้ด้านต่างๆ ของเด็กที่ค่อยๆปรากฏตัวขึ้นหลังจากความพร้อมนี้
  • การเคลื่อนไหวเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้สมองได้ใช้ประโยชน์จากเซลล์สมองและซีนแนปส์ ยิ่งเซลล์ส่งผ่านข้อมูลและเกิดจุดซีนแนปส์มากขึ้นเท่าใด เครือข่ายการเชื่อมต่อของวงจรกระแสประสาทก็ยิ่งประสานกระชับมากขึ้น

💢กระบวนการส่งเสริมพัฒนาการของสมอง



  • ฝึกให้เด็กตั้งประเด็นคำถามและคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สมองฝึกฝนเชื่อมโยงวงจรแห่งความรู้ในสมองหลายๆ ทาง เพื่อสร้างจุดซีนแนปส์ (synapse) ที่จำเป็นในสมอง สำหรับรองรับกระบวนการคิดที่รอบด้าน
  • นำเด็กเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลอง เด็กจะได้เรียนรู้ความหมายของสิ่งที่กำลังเรียนรู้ อารมณ์ถูกขับเคลื่อน ทำให้สมองเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ให้เด็กได้ทำการศึกษา สำรวจ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ดูว่าสิ่งต่างๆเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร เช่น เปลี่ยนจากร้อนเป็นเย็น จากเปียกเป็นแห้ง หรือจากอ่อนเป็นแข็ง เป็นต้น
  • ให้เด็กได้ฝึกใช้คำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์และสังคม เช่น คำว่า อำนาจ ทุกข์ ระบาด ซ้ำซ้อน โรค อุณหภูมิ ฯลฯ เป็นการทบทวนชุดความเข้าใจ ซึ่งเป็นการใช้วงจรร่างแหของเซลล์สมอง การสร้างความสัมพันธ์ของวงจรชุดนี้กับการทำงานของสมองหลายส่วนพร้อมกัน เช่นวงจรภาษาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจำ ความจำเป็นสิ่งจำเป็นในการก่อรูปความเข้าใจ ความเข้าใจเชิงนามธรรมขั้นต่อไป
  • ให้เด็กได้รับรู้สัมผัสของจริงที่มีขนาด น้ำหนัก ผิว รูปทรงต่างๆ และมุ่งพัฒนาความสามารถในการรับภาพสามมิติ
  • ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ได้จับต้องของเล่นนานาชนิด ได้สัมผัสสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและรอบๆ บ้าน การรับรู้ข้อมูลและสัมผัสจากสิ่งแวดล้อมนี้ จะย้อนเข้าไปพัฒนาสมองเด็ก ความหลากหลายที่ว่านี้ไม่ใช่สิ่งแวดล้อมประเภทโทรทัศน์ หรือวีดีโอเกม ซึ่งไม่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์
  • ให้เด็กมีประสบการณ์สนุกสนานกับการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้ทักษะที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ เช่น การคลาน การกลิ้ง การวิ่ง การปีน การโยก การเด้ง การกระโดดหกคะเมนตีลังกา
  • ให้เด็กมีโอกาสฝึกฝนการเคลื่อนไหวร่างกายพร้อมอุปกรณ์ เช่น การกระโดดเชือก การเลี้ยงลูกบอล
  • ให้เด็กมีโอกาสใช้ทักษะเสถียรภาพ เช่น สมดุล งอ ยืด บิด
  • การพัฒนาให้เด็กได้เล่นเกมกีฬาที่หลากหลายเพียงพอ จะช่วยพัฒนาร่างกายและสมองครบทุกด้าน กิจกรรมที่ครบถ้วนจะไปพัฒนาส่วนเชื่อมต่อกับประสาทต่างๆ ของการรับความรู้สึก โดยเฉพาะสมองส่วนเซรีเบลลัมที่รับผิดชอบเรื่องการทรงตัวและการเคลื่อนไหวให้เรียบลื่น
  • ให้เด็กพัฒนาความเข้าใจเรื่องมิติ
  • ให้เด็กพัฒนาความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนรูปทรงของวัตถุและสิ่งของ
  • ให้เด็กสร้างและพัฒนามุมมอง โดยใช้ภาพ 2 มิติ เช่น แผนผัง ภาพถ่าย สร้างวัตถุ 3 มิติ เช่น สร้างโมเดลจากภาพ ต่อบล็อก ก่อเจดีย์ทราย ปั้นดินเหนียว พับกระดาษ
  • ให้เด็กได้มีโอกาสมองวัตถุในหลากหลายมิติ รวมทั้งมีโอกาสลองใช้แว่นขยาย
  • ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เพราะสิ่งที่ก่อรูปเป็นการคิดของเด็ก เริ่มต้นที่การจับต้อง สัมผัส และมีประสบการณ์โดยตรง สมองรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า แล้วก่อรูปเป็นวงจรแห่งการคิดขึ้นมาในสมอง การตอบคำถามในแบบฝึก การทำแบบฝึกหัด เป็นกระบวนการถัดไปหลังจากวงจรแห่งประสบการณ์ได้สร้างขึ้นแล้ว
  • ให้เด็กศึกษาการเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆ ว่าเคลื่อนที่อย่างไร และเพราะอะไรจึงเคลื่อนที่ เช่น การเคลื่อนที่โดยการเป่า ผลัก ดึง กลิ้ง แกว่ง โยน เด็กควรได้ลองทำให้สิ่งต่างๆ เคลื่อนที่โดยใช้มือ เท้า เป่าลม ดัน ดึง



  👧 ความพร้อมที่สอดคล้องกับพัฒนาการโครงสร้างของสมอง


3 ขวบ

  • เมื่อเด็กอายุได้ 3 ขวบ เด็กๆจะเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่ว่าจะเป็นเดิน วิ่ง กระโดด ปีน โหน ในวัยนี้การเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว เป็นสิ่งที่เด็กชื่นชอบและเป็นที่มาแห่งความภาคภูมิใจ

4 ขวบ

  • อายุ 4 ขวบ เป็นต้นไป แม้เด็กจะพอใจกับกิจกรรมเคลื่อนไหว แต่เขาต้องการให้มีบรรยากาศผจญภัย ดังนั้นท่วงท่าในเชิงยิมนาสติกจะปรากฏตัวออกมา

5 ขวบ

พออายุ 5 ขวบขึ้นไป การเคลื่อนไหวยังเต็มไปด้วยพละกำลัง และสนุกสนานยิ่งขึ้น เด็กชอบเล่นการเคลื่อนไหวแบบงู แบบช้าง ไดโนเสาร์ กบ จิงโจ้ ม้า เป็ด ชอบเล่นขับรถไฟ ขับรถยนต์ 




  👀ความคิดของ,เด็กปฐมวัย (แบ่งออกเป็น 2 ระยะ)

       1. ระยะประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensori-motor period อายุแรกเกิด-2 ปี) พฤติกรรมของเด็กวัยนี้ ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหว เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว เด็กวัยนี้แสดงออกทางสติปัญญา ด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่ายังไม่สามารถอธิบายด้วยคำพูด
       2. ระยะก่อนปฏิบัติการ (Preoperational period อายุ 2-7 ปี)
เด็กเริ่มเข้าใจเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ของตนเองกับสิ่งแวดล้อม เริ่มมีเหตุผล
แต่เหตุผลยังยึดตนเองเป็นหลัก ยังไม่สามารถคิดย้อนกลับได้ ยังไม่สามารถใช้สติปัญญา
แก้ปัญหาได้อย่างเต็มที่การเจริญเติบโตทางสติปัญญา


        1. การเจริญเติบโตทางสติปัญญา พัฒนาจากการตอบสนองของสิ่งเร้า ที่เพิ่มขึ้นจากสภาพธรรมชาติ ในลักษณะที่เป็นอิสระ
        2. การเจริญเติบโตทางสติปัญญา ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่เรียนรู้สะสม เด็กจะต้องพัฒนาโครงสร้างสติปัญญา เพื่อให้พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งแวดล้อม และสามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้
        3. การเจริญเติบโตทางสติปัญญา ความสามารถที่เพิ่มขึ้น ในการให้ข้อมูลกับตนเองและคนอื่น โดยใช้คำและสัญลักษณ์
        4. พัฒนาการทางสติปัญญา การพัฒนาของสติปัญญานั้นขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งมีระบบเกิดขึ้นระหว่างผู้สอน และผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ
        5. การสอนให้เกิดพัฒนาการทางสติปัญญา ทำได้โดยการใช้สื่อของภาษา ซึ่งเป็นสื่อแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
        6. พัฒนาการทางสติปัญญาการเพิ่มปริมาณความสามารถที่จะโต้ตอบสิ่งเร้าที่เพิ่มขึ้นและสังเกตได้จากการที่เด็กมีความสามารถตัดสินใจ เลือกกระทำต่อสิ่งเร้าที่เกิดพร้อมๆกันได้มากน้อยเพียงใดในเวลาที่เหมาะสม เรียกความสามารถที่เพิ่มขึ้นนี้ว่า “The benchmarks”



การประเมินตนเอง👇
        ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และคอยจดบันทึกเพื่อนำกลับไปทบทวน เข้าเรียนตรงต่อเวลา
 การประเมินเพื่อน👇
      เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนทุกคน มีความพร้อมในการเรียน

 การประเมินอาจารย์
      อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นกันเองกับนักศึกษา


💚💛💜💚💛💜💚💛💜💚💛💜💚💛💜💚💛💜💚💛💜💚💛💜💚💛💜💚💛



Learning Log 9

                                              Learning Log 9
                                              Friday 3rd April 2020
😍ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ 
💦การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL) คือ การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมองแต่ละช่วงวัย โดยได้เสนอหลักการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ 12 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. สมองเป็นกระบวนการคู่ขนาน
2. สมองกับการเรียนรู้
3. การเรียนรู้มีมาแต่กำเนิด
4. รูปแบบการเรียนรู้ของบุคคล
5. ความสนใจมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
6. สมองมีหน้าที่สร้างกระบวนการเรียนรู้
7. การเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทั้งแบบที่มีจุดมุ่งหมายและไม่ได้ตั้งใจ
9. การเรียนรู้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างความเข้าใจ
10. การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
11. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเผชิญกับสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

12. สมองของบุคคลมีความเท่าเทียมกัน 

    💛 กระบวนการเรียนรู้ที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ของสมองได้เป็นอย่างดีและมีคุณภาพสำหรับเด็ก คือ การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการจัดและทำกิจกรรม รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ด้วยการจัดประสบการณ์ กิจกรรม และสภาพแวดล้อม ให้เกิดประสบการณ์ใหม่ๆ
       เพื่อเป็นเงื่อนไขในการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้มีทักษะในการคิดและการเรียนรู้อย่างมีเหตุผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการ โดยมีความสัมพันธ์สอดคล้องกลมกลืนกับความเป็นธรรมชาติและพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็กในแต่ละวัย

💜แนวทางพัฒนาร่างกายและการเคลื่อนไหว💜
💥 เน้นให้เด็กฝึกเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้ทักษะเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ เดิน วิ่ง กระโดด คลาน ปีน โยก เด้ง
💥 เน้นให้เด็กฝึกเคลื่อนไหวร่างกายพร้อมอุปกรณ์ เช่น เชือก ลูกบอล
💥 เน้นให้เด็กฝึกการใช้สมดุลของร่างกาย งอตัว ยืดตัว บิดตัว 
💥 เน้นให้เด็กพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อละเอียด เล่นอุปกรณ์ของเล่นที่พัฒนาระบบสัมผัส เช่น ร้อยลูกปัด บล็อก 
💥 เน้นให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสนาม และเล่นของเล่นหรืออุปกรณ์ต่างๆ
💥 เน้นให้เด็กฝึกบรรจุ เท แยกชิ้นส่วน ประกอบเข้า เล่นน้ำ เช่น เทน้ำลงภาชนะรูปทรงต่างๆ

💛แนวทางพัฒนาภาษา💛
👉พัฒนาผ่านการ - อ่านให้ฟัง - อ่านด้วยกัน - อ่านเอง
  • เน้นให้เด็กพัฒนาทักษะการใช้คำพูดเพื่อสื่อสาร
    • - พูดแสดงความรู้สึก
    • - แสดงความคิดเห็น
    • - เล่าเรื่องราวที่พบเห็นมา
    • - เล่าสิ่งที่คิด
    • - เล่านิทาน
  • เน้นจัดกิจกรรมให้เด็กเล่นกับเรื่องราวและภาษา
    • - ต่อคำสัมผัสกลอน
    • - ท่องบทร้องเล่น
    • - เล่นกับคำที่สนุก ตลก และไม่จำเป็นต้องมีความหมาย
    • - เล่นละคร
  • เน้นให้เด็กได้ฝึกเขียนตัวหนังสือและข้อความ เมื่อเด็กพร้อม
    • - เขียนอิสระ
    • - เขียนสิ่งที่คิด
    • - เขียนคำที่อยากเขียน
    • - เขียนตามนิทานที่ชอบ
  • เน้นใช้บทเพลงและเรื่องเล่าของท้องถิ่น เป็นสิ่งกระตุ้นให้เด็กสนใจพัฒนาภาษาของตนเอง
  • 👄แนวทางพัฒนาด้านศิลปะ
  • ศิลปะ คือ การคิดและจินตนาการออกมาเป็นภาพ
    • เปิดโอกาสให้สมองลองจินตนาการ ว่า ถ้าเอาสิ่งนี้รวมกับสิ่งนั้น หรือสิ่งโน้น จะเกิดอะไรขึ้น หรือ ถ้าทำแบบนี้ผลจะออกมาเป็นแบบไหน
    • ให้เด็กลองนำสิ่งที่สมองคิดอยู่ข้างใน ถ่ายทอดออกมาด้วยมือ ให้ตามองเห็นว่านี่ใช่สิ่งที่คิดหรือไม่ ถ้ามือทำงานแบบหนึ่ง ผลจะออกมาอย่างไร ผ่านการ
      • - วาด
      • - ปั้น
      • - เป่าสี
      • - ระบายสี
      • - ตัด
      • - ปะ
      • - เย็บ
      • - เรียง
      • - เท
      • - แยกออกไป
      • - ประกอบเข้า
      • - ร้อย
      • - วาง
      • - ตอก
      • - ถอดออก
    • เน้นให้เด็กได้ทำกิจกรรมศิลปะหลากหลายด้วยมือของตนเอง
      • - สร้าง จัดวาง สร้างสรรค์ ถ่ายทอดความคิดออกมาโดยใช้สื่อต่างๆ เช่น ทราย น้ำ แท่งไม้
      • - เข้าร่วมการแสดง เช่น เต้น รำ เล่นละคร เล่าเรื่อง ท่องบทกวี
      • - จัดประสบการณ์ศิลปะจากวัฒนธรรมท้องถิ่น
    • เน้นให้เวลาเพียงพอในการลองทำ และการทำซ้ำ เมื่อผ่านการลงมือทำจนเพียงพอแล้ว สมองจะเริ่มสร้างความเข้าใจโลกเบื้องต้นขึ้นมาด้วยตัวเอง

    💞แนวทางพัฒนาอารมณ์และจิตใจ

    • สำหรับเด็กอนุบาล อารมณ์เป็นปฏิกิริยาที่เด็กแสดงออกมาเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับโลก
    • การพัฒนาอารมณ์และจิตใจไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะจูงให้เกิดขึ้น การขัดเกลาอารมณ์ต้องอาศัยความประทับใจ ความดีใจ ความเสียใจ และความเห็นอกเห็นใจ ที่เกิดขึ้นมาท่ามกลางเหตุการณ์
    • เน้นให้เด็กฟังนิทาน เรื่องเล่า เรื่องจริงที่น่าจดจำและสะเทือนใจ เช่น นิทานอีสป นิทานไทย นิทานจากตำนาน นิทานชาดก เรื่องตลก
    • เน้นนำเด็กเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้เด็กชื่นชมประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และตำนานของท้องถิ่น
    • เน้นให้เด็กได้เขียนภาพ ดูงานศิลปะ และท่องเที่ยว หรือชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
    • เน้นให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมศาสนา การกุศล ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงาม

    💨แนวทางพัฒนากระบวนการคิด

    • เริ่มต้นที่การให้เด็กจับต้อง สัมผัส และมีประสบการณ์ตรง สมองเรียนรู้ได้ดี ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ก่อรูปเป็นวงจรการคิด
    • เน้นให้เด็กฝึกคิด การฝึกให้เด็กคิด ไม่ใช่การฝึกโดยใช้แบบฝึกหัดบนกระดาษ แต่ต้องนำเด็กเข้าสู่กระบวนการคิดโดยเข้าไปอยู่ในสถานการณ์จำลองต่างๆ เช่น ให้เด็กแสดงบทบาทสมมติ ให้เด็กทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดและตัดสินใจ
    • เน้นการลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรมอันหลากหลาย เพื่อสำรวจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้
      • - สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
      • - สิ่งต่างๆ เคลื่อนที่อย่างไร เพราะอะไรจึงเคลื่อนที่
      • - สิ่งต่างๆ อาจจำแนกออกเป็นประเภท/กลุ่มอะไรบ้าง ตามความเข้าใจของตนเอง
      • - พัฒนาความเข้าใจเรื่องมิติโดยลองจัดกลุ่มรวมเข้า แยกออก มองวัตถุด้วยแว่นขยาย
      • - พัฒนามุมมองโดยดูภาพ 2 มิติ แผนผัง สร้างวัตถุ 3 มิติ เช่น ต่อบล็อก ปั้นดินเหนียว ดินน้ำมัน
      • - สังเกตความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      • - ฝึกพูด เขียน โดยใช้คำศัพท์ และคำนิยาม
    • เน้นฝึกให้เด็กตั้งประเด็นคำถาม และหัดใช้ความคิด รับรู้ว่าการคิดนำไปสู่การตอบคำถามที่สมองสงสัย เช่น
      • - สิ่งนี้คืออะไร
      • - มีไว้ทำไม
      • - ถ้าไม่มีจะใช้อะไรแทนได้บ้าง
      • - สิ่งนี้มาจากไหน
      • - ใครสร้างขึ้นมา
      • - สิ่งนี้ต่างกับสิ่งนั้นอย่างไร
    • เน้นฝึกให้เด็กใช้คำศัพท์ เพื่อทบทวนชุดความเข้าใจในประสบการณ์ที่ได้มา
      • - ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ
      • - ร้อน เย็น อุณหภูมิ
      • - นับ บวก ลบ


      •   💙💚💛💜💙💚💛💜💙💚💛💜💙💚💛💜💙💚💛💜


การประเมินตนเอง👇
        ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และคอยจดบันทึกเพื่อนำกลับไปทบทวน เข้าเรียนตรงต่อเวลา
 การประเมินเพื่อน👇
      เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนทุกคน มีความพร้อมในการเรียน
 การประเมินอาจารย์
      อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นกันเองกับนักศึกษา


  





Learning Log 8

Learning Log 8 
Friday 3rd April 2020


   💓ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

สัปดาห์นี้เป็นการเรียนแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom เนื่องจากสถานการณ์ COVID 19 ระบาดอย่างหนักขึ้นทุกวัน อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษา อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเขียนเลข
1-9แล้วให้ต่อเติมรูปภาพจากความคิดของตนเอง



😜😛

การประเมินตนเอง👇   ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และคอยจดบันทึกเพื่อนำกลับไปทบทวน เข้าเรียนตรงต่อเวลา
 การประเมินเพื่อน👇 เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนทุกคน มีความพร้อมในการเรียน
 การประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นกันเองกับนักศึกษา


  



Learning Log 11

                                          Learning Log 11                                 💢 ความรู้ที่ได้รับในวันนี้  💢           ...