วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

Learning Log10

                                             Learning Log 10
                                            Friday 24 April 2020

          ✌ ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

  👄พัฒนาการด้านโครงสร้างและการทำงานของสมอง



  • สมองส่วนใหญ่ของเด็กวัยนี้จะอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา
  • สมองส่วนรับความรู้สึกมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในระยะนี้
  • ประสาทสัมผัสและการรับรู้ต่างๆ พัฒนาชัดเจนขึ้น
  • การกระตุ้นโดยสัมผัสจะช่วยกระตุ้นการทำงานประสานกันของส่วนรับสัมผัสของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
  • เมื่อสถานีรับข้อมูลจากภายนอกพัฒนาได้เร็ว ก็จะส่งผ่านข้อมูลไปกระตุ้นการทำงานของระบบอื่นๆ ในสมอง เช่น ส่วนความทรงจำ ส่วนควบคุมการเคลื่อนไหว ส่วนที่ทำงานด้านอารมณ์
  • สมองมีตำแหน่งรับรู้ต่างๆ มากมายเมื่อสมองส่วนหนึ่งทำงาน ก็มีผลต่อการทำงานของสมองอีกส่วนหนึ่งด้วย การพัฒนาเด็กด้านการรับสัมผัส และการเคลื่อนไหวจึงนับเป็นการพัฒนาสมองส่วนต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน และเสริมซึ่งกันและกัน
  • การส่งผ่านข้อมูลภายในสมองได้รับการพัฒนาให้รวดเร็วขึ้นโดยกระบวนการ myelination ทำให้ระบบรับความรู้สึก (sensory) กับระบบควบคุมการเคลื่อนไหว (motor) ทำงานประสานกันดีขึ้น ทำให้สมองพร้อมรับการสำรวจทำความรู้จักโลก
  • Myelination ช่วยให้การพัฒนาความสามารถของเด็กมีความพร้อม เช่น myelination ในบริเวณของสมองที่มีหน้าที่จัดความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ตากับการใช้มือของเด็ก จะพร้อมก็ต่อเมื่อเด็กอายุประมาณ 4 ปี พัฒนาการของสมองที่เชื่อมโยงกับโลกกว้าง นำไปสู่การเรียนรู้ด้านต่างๆ ของเด็กที่ค่อยๆปรากฏตัวขึ้นหลังจากความพร้อมนี้
  • การเคลื่อนไหวเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้สมองได้ใช้ประโยชน์จากเซลล์สมองและซีนแนปส์ ยิ่งเซลล์ส่งผ่านข้อมูลและเกิดจุดซีนแนปส์มากขึ้นเท่าใด เครือข่ายการเชื่อมต่อของวงจรกระแสประสาทก็ยิ่งประสานกระชับมากขึ้น

💢กระบวนการส่งเสริมพัฒนาการของสมอง



  • ฝึกให้เด็กตั้งประเด็นคำถามและคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สมองฝึกฝนเชื่อมโยงวงจรแห่งความรู้ในสมองหลายๆ ทาง เพื่อสร้างจุดซีนแนปส์ (synapse) ที่จำเป็นในสมอง สำหรับรองรับกระบวนการคิดที่รอบด้าน
  • นำเด็กเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลอง เด็กจะได้เรียนรู้ความหมายของสิ่งที่กำลังเรียนรู้ อารมณ์ถูกขับเคลื่อน ทำให้สมองเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ให้เด็กได้ทำการศึกษา สำรวจ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ดูว่าสิ่งต่างๆเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร เช่น เปลี่ยนจากร้อนเป็นเย็น จากเปียกเป็นแห้ง หรือจากอ่อนเป็นแข็ง เป็นต้น
  • ให้เด็กได้ฝึกใช้คำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์และสังคม เช่น คำว่า อำนาจ ทุกข์ ระบาด ซ้ำซ้อน โรค อุณหภูมิ ฯลฯ เป็นการทบทวนชุดความเข้าใจ ซึ่งเป็นการใช้วงจรร่างแหของเซลล์สมอง การสร้างความสัมพันธ์ของวงจรชุดนี้กับการทำงานของสมองหลายส่วนพร้อมกัน เช่นวงจรภาษาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจำ ความจำเป็นสิ่งจำเป็นในการก่อรูปความเข้าใจ ความเข้าใจเชิงนามธรรมขั้นต่อไป
  • ให้เด็กได้รับรู้สัมผัสของจริงที่มีขนาด น้ำหนัก ผิว รูปทรงต่างๆ และมุ่งพัฒนาความสามารถในการรับภาพสามมิติ
  • ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง ได้จับต้องของเล่นนานาชนิด ได้สัมผัสสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและรอบๆ บ้าน การรับรู้ข้อมูลและสัมผัสจากสิ่งแวดล้อมนี้ จะย้อนเข้าไปพัฒนาสมองเด็ก ความหลากหลายที่ว่านี้ไม่ใช่สิ่งแวดล้อมประเภทโทรทัศน์ หรือวีดีโอเกม ซึ่งไม่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์
  • ให้เด็กมีประสบการณ์สนุกสนานกับการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยใช้ทักษะที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ เช่น การคลาน การกลิ้ง การวิ่ง การปีน การโยก การเด้ง การกระโดดหกคะเมนตีลังกา
  • ให้เด็กมีโอกาสฝึกฝนการเคลื่อนไหวร่างกายพร้อมอุปกรณ์ เช่น การกระโดดเชือก การเลี้ยงลูกบอล
  • ให้เด็กมีโอกาสใช้ทักษะเสถียรภาพ เช่น สมดุล งอ ยืด บิด
  • การพัฒนาให้เด็กได้เล่นเกมกีฬาที่หลากหลายเพียงพอ จะช่วยพัฒนาร่างกายและสมองครบทุกด้าน กิจกรรมที่ครบถ้วนจะไปพัฒนาส่วนเชื่อมต่อกับประสาทต่างๆ ของการรับความรู้สึก โดยเฉพาะสมองส่วนเซรีเบลลัมที่รับผิดชอบเรื่องการทรงตัวและการเคลื่อนไหวให้เรียบลื่น
  • ให้เด็กพัฒนาความเข้าใจเรื่องมิติ
  • ให้เด็กพัฒนาความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนรูปทรงของวัตถุและสิ่งของ
  • ให้เด็กสร้างและพัฒนามุมมอง โดยใช้ภาพ 2 มิติ เช่น แผนผัง ภาพถ่าย สร้างวัตถุ 3 มิติ เช่น สร้างโมเดลจากภาพ ต่อบล็อก ก่อเจดีย์ทราย ปั้นดินเหนียว พับกระดาษ
  • ให้เด็กได้มีโอกาสมองวัตถุในหลากหลายมิติ รวมทั้งมีโอกาสลองใช้แว่นขยาย
  • ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เพราะสิ่งที่ก่อรูปเป็นการคิดของเด็ก เริ่มต้นที่การจับต้อง สัมผัส และมีประสบการณ์โดยตรง สมองรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า แล้วก่อรูปเป็นวงจรแห่งการคิดขึ้นมาในสมอง การตอบคำถามในแบบฝึก การทำแบบฝึกหัด เป็นกระบวนการถัดไปหลังจากวงจรแห่งประสบการณ์ได้สร้างขึ้นแล้ว
  • ให้เด็กศึกษาการเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆ ว่าเคลื่อนที่อย่างไร และเพราะอะไรจึงเคลื่อนที่ เช่น การเคลื่อนที่โดยการเป่า ผลัก ดึง กลิ้ง แกว่ง โยน เด็กควรได้ลองทำให้สิ่งต่างๆ เคลื่อนที่โดยใช้มือ เท้า เป่าลม ดัน ดึง



  👧 ความพร้อมที่สอดคล้องกับพัฒนาการโครงสร้างของสมอง


3 ขวบ

  • เมื่อเด็กอายุได้ 3 ขวบ เด็กๆจะเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่ว่าจะเป็นเดิน วิ่ง กระโดด ปีน โหน ในวัยนี้การเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว เป็นสิ่งที่เด็กชื่นชอบและเป็นที่มาแห่งความภาคภูมิใจ

4 ขวบ

  • อายุ 4 ขวบ เป็นต้นไป แม้เด็กจะพอใจกับกิจกรรมเคลื่อนไหว แต่เขาต้องการให้มีบรรยากาศผจญภัย ดังนั้นท่วงท่าในเชิงยิมนาสติกจะปรากฏตัวออกมา

5 ขวบ

พออายุ 5 ขวบขึ้นไป การเคลื่อนไหวยังเต็มไปด้วยพละกำลัง และสนุกสนานยิ่งขึ้น เด็กชอบเล่นการเคลื่อนไหวแบบงู แบบช้าง ไดโนเสาร์ กบ จิงโจ้ ม้า เป็ด ชอบเล่นขับรถไฟ ขับรถยนต์ 




  👀ความคิดของ,เด็กปฐมวัย (แบ่งออกเป็น 2 ระยะ)

       1. ระยะประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensori-motor period อายุแรกเกิด-2 ปี) พฤติกรรมของเด็กวัยนี้ ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหว เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว เด็กวัยนี้แสดงออกทางสติปัญญา ด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่ายังไม่สามารถอธิบายด้วยคำพูด
       2. ระยะก่อนปฏิบัติการ (Preoperational period อายุ 2-7 ปี)
เด็กเริ่มเข้าใจเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ของตนเองกับสิ่งแวดล้อม เริ่มมีเหตุผล
แต่เหตุผลยังยึดตนเองเป็นหลัก ยังไม่สามารถคิดย้อนกลับได้ ยังไม่สามารถใช้สติปัญญา
แก้ปัญหาได้อย่างเต็มที่การเจริญเติบโตทางสติปัญญา


        1. การเจริญเติบโตทางสติปัญญา พัฒนาจากการตอบสนองของสิ่งเร้า ที่เพิ่มขึ้นจากสภาพธรรมชาติ ในลักษณะที่เป็นอิสระ
        2. การเจริญเติบโตทางสติปัญญา ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่เรียนรู้สะสม เด็กจะต้องพัฒนาโครงสร้างสติปัญญา เพื่อให้พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งแวดล้อม และสามารถตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้
        3. การเจริญเติบโตทางสติปัญญา ความสามารถที่เพิ่มขึ้น ในการให้ข้อมูลกับตนเองและคนอื่น โดยใช้คำและสัญลักษณ์
        4. พัฒนาการทางสติปัญญา การพัฒนาของสติปัญญานั้นขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งมีระบบเกิดขึ้นระหว่างผู้สอน และผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ
        5. การสอนให้เกิดพัฒนาการทางสติปัญญา ทำได้โดยการใช้สื่อของภาษา ซึ่งเป็นสื่อแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
        6. พัฒนาการทางสติปัญญาการเพิ่มปริมาณความสามารถที่จะโต้ตอบสิ่งเร้าที่เพิ่มขึ้นและสังเกตได้จากการที่เด็กมีความสามารถตัดสินใจ เลือกกระทำต่อสิ่งเร้าที่เกิดพร้อมๆกันได้มากน้อยเพียงใดในเวลาที่เหมาะสม เรียกความสามารถที่เพิ่มขึ้นนี้ว่า “The benchmarks”



การประเมินตนเอง👇
        ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และคอยจดบันทึกเพื่อนำกลับไปทบทวน เข้าเรียนตรงต่อเวลา
 การประเมินเพื่อน👇
      เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนทุกคน มีความพร้อมในการเรียน

 การประเมินอาจารย์
      อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นกันเองกับนักศึกษา


💚💛💜💚💛💜💚💛💜💚💛💜💚💛💜💚💛💜💚💛💜💚💛💜💚💛💜💚💛



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Learning Log 11

                                          Learning Log 11                                 💢 ความรู้ที่ได้รับในวันนี้  💢           ...